วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การติดต่อเชื่องโยง-ประชาคมอาเซียน


         การติดต่อเชื่อมโยง (Connectivity) ดูจะเป็นคำที่พูดถึงกันมากทีเดียวในการ สร้างหรือเตรียมพร้อมความเป็นประชาคมอาเซียน นับเป็นหัวใจสำคัญมากในการ เชื่อมโยงความเป็นประชาคมอาเซียนให้ได้มีการติดต่อสมาชิกของอาเซียนเข้ามาใกล้ ชิดกันยิ่งขึ้น และนี่คือสิ่งที่ประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พยายาม สร้างขึ้นมาอย่างเร่งรีบ เป็นฐานหลัก โดยเฉพาะที่จะเห็นได้ชัด ก็คือประชาคมเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเสาหลักหนึ่งของการเป็นประชาคมหนึ่งเดียวของอาเซียนนี่เอง
          ภาพที่เห็นได้ง่าย ก็คือภาพของโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่เป็นถนนหนทางเชื่อมโยงติดต่อกัน โครงสร้างพื้นฐานที่ว่านี้ ดูจะเกิดให้เห็นชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรม ก่อนการเชื่อมโยงอื่นๆ จะเกิดขึ้น
          ภาพเหล่านี้ คือถนนหนทางต่างๆ ที่สร้างเชื่อมกัน จะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เป็นความริเริ่มและลงทุนมาจากฝ่ายจีนนอกอาเซียนนั่นเองเป็นสำคัญ เช่น ถนนเส้นที่สร้างจากเมืองยูนนานของคุนหมิงนั้น เกิดจากแผนพัฒนาจีนทางภาคใต้เชื่อม เข้ามามากกว่า ถนนสายดังกล่าวเข้ามาถึงลาว รอจ่ออยู่ที่อำเภอเชียงของ จังหวัด เชียงราย รอเชื่อมเข้ากับถนนสายหลัก เชื่อมลงไปที่สิงคโปร์ และประเทศหมู่เกาะ ของอาเซียนจากด้านเหนือของไทยนี้เอง มีการพูดถึงทางรถไฟความเร็วสูงอีกด้วยแล้ว
          เส้นทางคมนาคมที่เชื่อมโยงกันเองในอาเซียน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของไทยนั้น ยังจะเห็นถนนสายที่ 9 จากเมืองเว้ เมืองดานังของเวียดนาม สร้างเชื่อมเข้ามายังเมืองสะวันนะเขตของลาวข้ามสะพานไทย-ลาว ที่จังหวัดมุกดาหาร เพื่อเชื่อมเข้าสู่ถนนสายหลัก ในการรับส่งสินค้าส่งต่อไปยังจุดอันเป็นท่าเรือในภาค ต่างๆ ของประเทศไทย เท่ากับเป็นเส้นทางเปิดออกรับสินค้าจากอาเซียนตอนบนที่มีลาวกับเวียดนาม ติดต่อเชื่อมเข้ามา หรือเชื่อมเข้าไปที่เวียดนามส่งสินค้าไปจีน
          ภาคตะวันตกของไทย ตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรีเข้ามา เราก็จะเห็นโครงการทวายกำลังจะเกิด บริเวณดังกล่าวจะเป็นเขตอุตสาหกรรมเกิดใหม่ ซึ่งใหญ่โตเป็น ศูนย์กลางการผลิตส่งสินค้าออกไปท่าเรือของพม่าด้านอ่าวเบงกอล เชื่อมการค้ากับอินเดียในรัฐทางใต้ ซึ่งมีรัฐทมิฬนาดู เป็นตัวเชื่อมด้านการค้าเข้าอินเดีย โครงการทวายยังเชื่อมเข้ามาที่ไทย ซึ่งขณะนี้ก็มีแผนสร้างถนนมอเตอร์เวย์มาที่บางใหญ่ เชื่อมต่อถนนสายหลักเพื่อส่งสินค้าไปยังท่าเรือแหลมฉบังออกไปอีกที
          หลายโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ จะเห็นจุดเชื่อมสำคัญที่ไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียนได้อย่างดีโดยสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เพราะฉะนั้นก็จะเห็นการไหลเลื่อนของโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว มีไทยเป็นศูนย์กลางสำคัญของ อาเซียน จุดนี้จะเป็นจุดได้เปรียบของไทยในการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน ทึ่จะเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่นๆ ของอาเซียนที่ประเทศสมาชิกมีสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เป็นหมู่เกาะ ตั้งแต่ บรูไน สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
          ที่จริงการทำความเข้าใจเรื่องการติดต่อเชื่อมโยงที่ว่านี้ ต้องรู้เรื่องกรอบงานของอาเซียนอย่างที่เคยเขียนไปก่อนหน้านี้แล้ว เพราะถ้าเห็นกรอบทำงานรูปแบบต่างๆ ตามสภาพภูมิศาสตร์แล้ว เราก็จะเห็นการสร้างการติดต่อเชื่อมโยงเข้าไป หรือออกมาจากกรอบการทำงานที่กำหนดไว้ เช่น กรอบการทำงานในเขตลุ่มมหานทีแม่น้ำโขง ก็จะเป็นจุดรวมดึงให้การสร้างโครงสร้างพื้นฐานเข้าไปเชื่อมเขตพื้นที่ต่างๆ เหล่านั้น กรอบการทำงานลุ่มน้ำโขง-คงคา กรอบการทำงานในเขตประเทศบนอ่าวเบงกอล หรือเขตสามเหลี่ยมความเติบโตของประเทศสมาชิกอาเซียนตามหมู่เกาะต่างๆ ก็ตาม
          จะเห็นว่า โครงสร้างพื้นฐานที่เป็นรูปธรรมเห็นชัดมากกว่าอย่างอื่นในการรวม ตัวเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ดูจะเน้นหนักให้เห็นการเตรียมพร้อมการติดต่อเชื่อมโยงในเสาหลักเรื่องเป็นประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียนมากกว่า จะเห็นว่าการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจเป็นไปรวดเร็วกว่าการขับเคลื่อนประชาคมความมั่นคง และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม เพราะพล็อตทางเศรษฐกิจนั้นว่าไปแล้ว เป็นศักยภาพอันเกิดจากภาคเอกชนมากกว่าภาครัฐ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงเป็นเรื่องที่พูดกันอย่างกว้างขวาง อึกทึกครึกโครมยิ่งกว่ามีการพูดถึงประชาคมอาเซียนในเสาหลักอื่น
          แต่ก็จะเห็นว่า การพูดถึงการติดต่อเชื่อมโยงในบริบทที่เป็นแค่โครงสร้างพื้นฐานนั้น ไม่เพียงพอต่อการเป็นประชาคมอาเซียนโดยรวม เพราะแท้ที่จริงแล้ว การติดต่อเชื่อมโยงด้านสังคมและวัฒนธรรม จะต้องเป็นอีกเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะที่จะต้องพูด ต้องสร้าง ต้องเตรียมพร้อมรองรับให้เท่าทัน เพราะเหตุว่า เมื่อประชาคมอาเซียนเกิดเต็มรูปแบบแล้ว การพบปะของผู้คนเกือบ 600 ล้านคนในอาเซียนจะเกิดขึ้น เชื่อมโยงติดต่อกัน  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
          จุดนี้เองที่การติดต่อเชื่อมโยง (Connectivity) ก็คือการที่จะต้องสื่อสารทำ ความเข้าใจต่อกัน จุดติดต่อเชื่อมโยงดังกล่าว จึงแยกออกมาจากการเชื่อมโยงติด ต่อในแง่ของโครงสร้างพื้นฐาน มาเป็นการสื่อสาร (Communication) ต่อกัน และ หัวใจสำคัญของการเชื่อมโยงดังกล่าว ก็คือเรื่องของภาษา ซึ่งเห็นชัดในข้อกำหนด ดังระบุไว้ใน กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ว่าภาษากลางของอาเซียนก็คือภาษาอังกฤษ ที่เป็นตัวเชื่อมโยงติดต่อกัน
          นี่คือจุดที่เริ่มเห็นความสำคัญของการติดต่อเชื่อมโยงในการสร้างประชาคมอาเซียน ซึ่งจะมีภาษาอังกฤษเป็นตัวหลัก ขณะเดียวกัน เกือบทุกประเทศในอาเซียน ต่างก็คำนึงถึงความจำเป็นของการสร้างความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ และจะดียิ่งขึ้น คือการเรียนรู้ภาษาของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนด้วยกัน การให้ความ สำคัญของภาษายังจะรวมไปถึงการเรียนรู้ภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เมื่อคิดถึงการเป็นอาเซียน+3 หรือเรียนรู้ภาษาอินเดียเพิ่มขึ้น เมื่อคำนึงถึงอาเซียน+6
          สองอย่างสำคัญที่เป็นตัวเชื่อมโยงติดต่อกันนี้เอง คือทิศทางของการเตรียมความพร้อม ซึ่งสอดประสานกัน ทั้งการเป็นประชาคมเศรษฐกิจและประชาคม สังคมและวัฒนธรรม เราจะต้องเน้นการเตรียมความพร้อมนี้ให้หนักแน่น ในส่วนที่เป็นความเชื่อมโยงติดต่อกันด้านโครงสร้างพื้นฐานจะช่วยเสริมศักยภาพของไทยอย่างสำคัญและดียิ่งกับการเป็นศูนย์ขนถ่ายสินค้า (Logistic counter) ขณะที่การเพิ่มศักยภาพและความเข้มแข็งด้านภาษาสำหรับอาเซียนจะเพิ่มสมรรถนะในการแข่งขันไปด้วยในตัว

การศึกษาในประชาคมอาเซียน

การเตรียมพร้อมด้านการศึกษาของไทย เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

UploadImage


นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เคยบรรยาย พิเศษเรื่อง "การเตรียมพร้อมด้านการศึกษาของไทย เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ปี พ.ศ. ๒๕๕๘" ไว้ว่า ประเทศไทยเป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง ภายใต้ยุทธศาสตร์วิสัยทัศน์เดียว เอกลักษณ์เดียว และประชาคมเดียว เพื่อความเจริญมั่นคงของประชากร ทรัพยากร และเศรษฐกิจ

ภายใต้การก่อตั้งนี้จะต้องยึดหลักสำคัญ คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมของอาเซียน การศึกษานั้นจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่นๆมีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุกๆ ด้าน

การเตรียมความพร้อมของการศึกษาไทย มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้

๑. การสร้างประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ให้ประเทศไทยเป็น Education Hub มี การเตรียมความพร้อมในด้านกรอบความคิด คือ แผนการศึกษาแห่งชาติ ที่จะมุ่งสร้างความตระหนักรู้ของคนไทยในการจัดการศึกษาเพื่อสร้างคนไทยให้ เป็นคนของประชาคมอาเซียน พัฒนาสมรรถนะให้พร้อมจะอยู่ร่วมกันและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้าน การศึกษา โดยให้มีการร่วมมือกันใน ๓ ด้านคือ ด้านพัฒนาคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริการและจัดการศึกษา

๒. ขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษาด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่าง กันในประชาคมอาเซียน มีการเพิ่มครูที่จบการศึกษาด้านภาษาอังกฤษเข้าไปในทุกระดับชั้นการศึกษา เพื่อให้นักเรียนไทยสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับภาคเอกชนในการรับอาสาสมัครเข้ามาสอนภาษาต่าง ประเทศ รวมถึงวัฒนธรรมของประเทศต่างๆเพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจกันของ ประเทศในประชาคม

ส่วนด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษานั้น จะพัฒนาตามหลัก 3Nได้แก่ Ned Netโครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ NEISศูนย์กลางรวบรวม จัดเก็บ และเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา NLCศูนย์ เรียนรู้แห่งชาติ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา มีการพัฒนาผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ความเอื้ออาทร โดยใช้การศึกษาเป็นกลไกในการสร้างวัฒนธรรมใหม่ นักศึกษาที่จบจากอาชีวศึกษาจะต้องเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ มีทักษะการทำงานร่วมกันในประชาคมอาเซียน

นอกจากนี้ ยังต้องส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาไปสู่ประชาคมอาเซียนและสากลต่อไป

กำเนิดอาเซียน

ต้นกำเนิดของอาเซียน



อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations – ASEAN) เกิดขึ้นเมื่อปี 2510 ในยุคแห่งการเผชิญหน้าทางการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บนความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ และมีนโยบายแข่งขันในการผลิต การส่งออก การตลาด การหาแหล่งทุนและเทคโนโลยี ทำให้การเจริญเติบโตขององค์กรเป็นไปอย่างช้า ๆ ปฏิญญาอาเซียนหรือปฏิญญากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นปฏิญญาในการก่อตั้งอาเซียน ได้ระบุวัตถุประสงค์ของการรวมตัวกัน ดังนี้ เร่งรัดความ เจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในภูมิภาคโดยอาศัย ความร่วมมือระหว่างกันส่งเสริม พื้นฐานและเสถียรภาพ ในภูมิภาค โดยยึดหลักยุติธรรมและกฎเกณฑ์ของกฎบัติ สหประชาชาติส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านต่างๆ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และการบริหารช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรม วิจัย ในด้านการศึกษา วิชาชีพ เทคนิค และการบริหารร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การขยายการค้า การศึกษา ปัญหาการค้าโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศ การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก การขนส่งและคมนาคม และการยก
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนในระยะแรก

          อาเซียนตระหนักดีว่า ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงของภูมิภาคดังนั้น นอกจากความร่วมมือทางการเมือง สังคม การศึกษา และวัฒนธรรม แล้วอาเซียนจึงมุ่งมั่นที่จะขยาย ความร่วมมือทาง เศรษฐกิจระหว่าง กันมา โดยตลอดอีกด้วย

          ในปี 2520 รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยสิทธิพิเศษทางการค้าอาเซียน หรือ ASEAN PTA (Preferential Trading Arrangements: PTA) ซึ่งเป็นการ ให้สิทธิพิเศษโดยสมัครใจ และแลกเปลี่ยนสินค้ากับสินค้า สิทธิพิเศษส่วนใหญ่เป็น การลด ภาษี ศุลกากรขาเข้า และการผูกพันอัตราอากรขาเข้า ณ อัตราที่เรียกเก็บอยู่ หลังจากนั้นก็มีโครงการความร่วมมือต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมมีถึง 4 โครงการ ได้แก่ โครงการอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN Industrial Project: AIP) ปี 2523 โครงการ แบ่งผลิตทางอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN Industrial Complementation: AIC) ปี 2524 โครงการร่วมลงทุนด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (ASEAN Industrial Joint Ventures: AIJV) ปี 2526 โครงการแบ่งผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (Brand-to-Brand Complementation: BBC) ปี 2532

          จนกระทั่งปี2533องค์ประกอบสำคัญของเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตาเริ่มปรากฏให้เห็นเป็นครั้งแรก เมื่อรัฐมนตรีเศรษฐกิจ อาเซียนไดตกลงใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมบางชนิด รวมทั้งซีเมนต์ ปุ๋ย และเยื่อกระดาษ อย่างไรก็ตาม โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดของอาเซียนก่อน การจัดตั้งอาฟตาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัย ดังนี้ สมาชิกอาเซียนไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ แม้จะอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน การรวมตัวเกิด จากการ คุกคาม ความมั่นคงจากภายนอก มิใช่จากสำนึกแห่งความเป็น ภูมิภาคเดียวกันแต่ละประเทศ อยู่ระหว่างการพัฒนา อุตสาหกรรมภายในประเทศ จึงมองกันเป็นคู่แข่งการส่งออก และเห็นว่าภายนอกภูมิภาค คือ แหล่งเงินทุนและเทคโนโลยี โครงสร้างองค์กรอ่อนแอ สำนัก เลขาธิการอาเซียน มีงบประมาณจำกัด ไม่มีอำนาจและความเป็นอิสระเพียงพอที่จะกำหนดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

อาฟตา : ความสำเร็จครั้งสำคัญของอาเซียน
          อาเซียนได้พยายามศึกษาหาแนวทางและมาตรการที่จะขยายการค้าระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน โดยใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff: CEPT) สำหรับสินค้าของอาเซียน ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เมื่อเดือนมกราคม 2535 ณ ประเทศ สิงคโปร์ จึงได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอของไทย โดยนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน ในการเริ่มจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ตามกรอบความตกลงแม่บทว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation) และความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน [Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA)]ระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนส่งเสริมการศึกษาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รักษาความร่วมมือที่ใกล้ชิดและเป็นประโยชน์กับองค์การระหว่างประเทศและภูมิภาคที่มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกัน และหาแนวทางร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างกันมากขึ้น

          ในช่วง 10 ปีแรกหลังจากการก่อตั้ง อาเซียนให้ความสำคัญต่อการจัดทำกรอบงานอย่างกว้างๆ และยืดหยุ่นได้ เพื่อให้สอดรับกับ ความคิด เห็นอันหลากหลายของสมาชิก และเพื่อให้เป็นรากฐานอันมั่นคงสำหรับจุดมุ่งหมายร่วมกันต่อไป ดังนั้น แม้ว่าจะไม่ค่อยมีผลสำเร็จ เป็นรูป ธรรมมากนัก แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อการสานสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลอาเซียน ทำให้เกิดค่านิยมที่ดี และวาง รากฐาน ความ สำเร็จในอนาคต ทิศทางในการดำเนินงานของอาเซียนเริ่มชัดเจนขึ้นในปี 2520 เมื่อผู้นำอาเซียนประชุมสุดยอดครั้งแรก ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และได้ลงนามในปฏิญญาสมานฉันท์อาเซียน (Declaration of ASEAN Concord) และสนธิสัญญาไมตรีและ ความ ร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC) ซึ่งขยาย ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ของ อาเซียนไปอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมถึงความร่วมมือด้านโภคภัณฑ์พื้นฐานโดยเฉพาะอาหารและพลังงาน การจัดตั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การขยายการค้าระหว่างประเทศสมาชิก การจัดตั้งระบบสิทธิพิเศษทางการค้าระยะยาว การปรับปรุงการเข้าสู่ตลาดนอกอาเซียน และการ แก้ไขปัญหาโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศ และประเด็นเศรษฐกิจโลกอื่น ๆ