วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การติดต่อเชื่องโยง-ประชาคมอาเซียน


         การติดต่อเชื่อมโยง (Connectivity) ดูจะเป็นคำที่พูดถึงกันมากทีเดียวในการ สร้างหรือเตรียมพร้อมความเป็นประชาคมอาเซียน นับเป็นหัวใจสำคัญมากในการ เชื่อมโยงความเป็นประชาคมอาเซียนให้ได้มีการติดต่อสมาชิกของอาเซียนเข้ามาใกล้ ชิดกันยิ่งขึ้น และนี่คือสิ่งที่ประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พยายาม สร้างขึ้นมาอย่างเร่งรีบ เป็นฐานหลัก โดยเฉพาะที่จะเห็นได้ชัด ก็คือประชาคมเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเสาหลักหนึ่งของการเป็นประชาคมหนึ่งเดียวของอาเซียนนี่เอง
          ภาพที่เห็นได้ง่าย ก็คือภาพของโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่เป็นถนนหนทางเชื่อมโยงติดต่อกัน โครงสร้างพื้นฐานที่ว่านี้ ดูจะเกิดให้เห็นชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรม ก่อนการเชื่อมโยงอื่นๆ จะเกิดขึ้น
          ภาพเหล่านี้ คือถนนหนทางต่างๆ ที่สร้างเชื่อมกัน จะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เป็นความริเริ่มและลงทุนมาจากฝ่ายจีนนอกอาเซียนนั่นเองเป็นสำคัญ เช่น ถนนเส้นที่สร้างจากเมืองยูนนานของคุนหมิงนั้น เกิดจากแผนพัฒนาจีนทางภาคใต้เชื่อม เข้ามามากกว่า ถนนสายดังกล่าวเข้ามาถึงลาว รอจ่ออยู่ที่อำเภอเชียงของ จังหวัด เชียงราย รอเชื่อมเข้ากับถนนสายหลัก เชื่อมลงไปที่สิงคโปร์ และประเทศหมู่เกาะ ของอาเซียนจากด้านเหนือของไทยนี้เอง มีการพูดถึงทางรถไฟความเร็วสูงอีกด้วยแล้ว
          เส้นทางคมนาคมที่เชื่อมโยงกันเองในอาเซียน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของไทยนั้น ยังจะเห็นถนนสายที่ 9 จากเมืองเว้ เมืองดานังของเวียดนาม สร้างเชื่อมเข้ามายังเมืองสะวันนะเขตของลาวข้ามสะพานไทย-ลาว ที่จังหวัดมุกดาหาร เพื่อเชื่อมเข้าสู่ถนนสายหลัก ในการรับส่งสินค้าส่งต่อไปยังจุดอันเป็นท่าเรือในภาค ต่างๆ ของประเทศไทย เท่ากับเป็นเส้นทางเปิดออกรับสินค้าจากอาเซียนตอนบนที่มีลาวกับเวียดนาม ติดต่อเชื่อมเข้ามา หรือเชื่อมเข้าไปที่เวียดนามส่งสินค้าไปจีน
          ภาคตะวันตกของไทย ตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรีเข้ามา เราก็จะเห็นโครงการทวายกำลังจะเกิด บริเวณดังกล่าวจะเป็นเขตอุตสาหกรรมเกิดใหม่ ซึ่งใหญ่โตเป็น ศูนย์กลางการผลิตส่งสินค้าออกไปท่าเรือของพม่าด้านอ่าวเบงกอล เชื่อมการค้ากับอินเดียในรัฐทางใต้ ซึ่งมีรัฐทมิฬนาดู เป็นตัวเชื่อมด้านการค้าเข้าอินเดีย โครงการทวายยังเชื่อมเข้ามาที่ไทย ซึ่งขณะนี้ก็มีแผนสร้างถนนมอเตอร์เวย์มาที่บางใหญ่ เชื่อมต่อถนนสายหลักเพื่อส่งสินค้าไปยังท่าเรือแหลมฉบังออกไปอีกที
          หลายโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ จะเห็นจุดเชื่อมสำคัญที่ไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียนได้อย่างดีโดยสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เพราะฉะนั้นก็จะเห็นการไหลเลื่อนของโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว มีไทยเป็นศูนย์กลางสำคัญของ อาเซียน จุดนี้จะเป็นจุดได้เปรียบของไทยในการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน ทึ่จะเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่นๆ ของอาเซียนที่ประเทศสมาชิกมีสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เป็นหมู่เกาะ ตั้งแต่ บรูไน สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
          ที่จริงการทำความเข้าใจเรื่องการติดต่อเชื่อมโยงที่ว่านี้ ต้องรู้เรื่องกรอบงานของอาเซียนอย่างที่เคยเขียนไปก่อนหน้านี้แล้ว เพราะถ้าเห็นกรอบทำงานรูปแบบต่างๆ ตามสภาพภูมิศาสตร์แล้ว เราก็จะเห็นการสร้างการติดต่อเชื่อมโยงเข้าไป หรือออกมาจากกรอบการทำงานที่กำหนดไว้ เช่น กรอบการทำงานในเขตลุ่มมหานทีแม่น้ำโขง ก็จะเป็นจุดรวมดึงให้การสร้างโครงสร้างพื้นฐานเข้าไปเชื่อมเขตพื้นที่ต่างๆ เหล่านั้น กรอบการทำงานลุ่มน้ำโขง-คงคา กรอบการทำงานในเขตประเทศบนอ่าวเบงกอล หรือเขตสามเหลี่ยมความเติบโตของประเทศสมาชิกอาเซียนตามหมู่เกาะต่างๆ ก็ตาม
          จะเห็นว่า โครงสร้างพื้นฐานที่เป็นรูปธรรมเห็นชัดมากกว่าอย่างอื่นในการรวม ตัวเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ดูจะเน้นหนักให้เห็นการเตรียมพร้อมการติดต่อเชื่อมโยงในเสาหลักเรื่องเป็นประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียนมากกว่า จะเห็นว่าการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจเป็นไปรวดเร็วกว่าการขับเคลื่อนประชาคมความมั่นคง และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม เพราะพล็อตทางเศรษฐกิจนั้นว่าไปแล้ว เป็นศักยภาพอันเกิดจากภาคเอกชนมากกว่าภาครัฐ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงเป็นเรื่องที่พูดกันอย่างกว้างขวาง อึกทึกครึกโครมยิ่งกว่ามีการพูดถึงประชาคมอาเซียนในเสาหลักอื่น
          แต่ก็จะเห็นว่า การพูดถึงการติดต่อเชื่อมโยงในบริบทที่เป็นแค่โครงสร้างพื้นฐานนั้น ไม่เพียงพอต่อการเป็นประชาคมอาเซียนโดยรวม เพราะแท้ที่จริงแล้ว การติดต่อเชื่อมโยงด้านสังคมและวัฒนธรรม จะต้องเป็นอีกเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะที่จะต้องพูด ต้องสร้าง ต้องเตรียมพร้อมรองรับให้เท่าทัน เพราะเหตุว่า เมื่อประชาคมอาเซียนเกิดเต็มรูปแบบแล้ว การพบปะของผู้คนเกือบ 600 ล้านคนในอาเซียนจะเกิดขึ้น เชื่อมโยงติดต่อกัน  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
          จุดนี้เองที่การติดต่อเชื่อมโยง (Connectivity) ก็คือการที่จะต้องสื่อสารทำ ความเข้าใจต่อกัน จุดติดต่อเชื่อมโยงดังกล่าว จึงแยกออกมาจากการเชื่อมโยงติด ต่อในแง่ของโครงสร้างพื้นฐาน มาเป็นการสื่อสาร (Communication) ต่อกัน และ หัวใจสำคัญของการเชื่อมโยงดังกล่าว ก็คือเรื่องของภาษา ซึ่งเห็นชัดในข้อกำหนด ดังระบุไว้ใน กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ว่าภาษากลางของอาเซียนก็คือภาษาอังกฤษ ที่เป็นตัวเชื่อมโยงติดต่อกัน
          นี่คือจุดที่เริ่มเห็นความสำคัญของการติดต่อเชื่อมโยงในการสร้างประชาคมอาเซียน ซึ่งจะมีภาษาอังกฤษเป็นตัวหลัก ขณะเดียวกัน เกือบทุกประเทศในอาเซียน ต่างก็คำนึงถึงความจำเป็นของการสร้างความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ และจะดียิ่งขึ้น คือการเรียนรู้ภาษาของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนด้วยกัน การให้ความ สำคัญของภาษายังจะรวมไปถึงการเรียนรู้ภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เมื่อคิดถึงการเป็นอาเซียน+3 หรือเรียนรู้ภาษาอินเดียเพิ่มขึ้น เมื่อคำนึงถึงอาเซียน+6
          สองอย่างสำคัญที่เป็นตัวเชื่อมโยงติดต่อกันนี้เอง คือทิศทางของการเตรียมความพร้อม ซึ่งสอดประสานกัน ทั้งการเป็นประชาคมเศรษฐกิจและประชาคม สังคมและวัฒนธรรม เราจะต้องเน้นการเตรียมความพร้อมนี้ให้หนักแน่น ในส่วนที่เป็นความเชื่อมโยงติดต่อกันด้านโครงสร้างพื้นฐานจะช่วยเสริมศักยภาพของไทยอย่างสำคัญและดียิ่งกับการเป็นศูนย์ขนถ่ายสินค้า (Logistic counter) ขณะที่การเพิ่มศักยภาพและความเข้มแข็งด้านภาษาสำหรับอาเซียนจะเพิ่มสมรรถนะในการแข่งขันไปด้วยในตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น